แลกเปลี่ยนเรียนพับฉบับเพลินพัฒนา
วัน Friday 03 Dec 10@ 11:41:25 ICT
หัวข้อ: วิชาการ & KO


     
 

แลกเปลี่ยนเรียนพับฉบับเพลินพัฒนา

วันที่ ๒๒ – ๒๓ พ.ย. ๕๓ สคส. จัดงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ที่บางกอกคอนเวนชั่นฮอลล์ เซ็นทรัลลาดพร้าว

     


 
ปีนี้ดิฉันชวนคุณครูติ๊ก – เยาวราช สิทธิภู่ประเสริฐ KO ช่วงชั้นอนุบาล คุณครูแคท – คัทลียา รัตนวงศ์ KO ช่วงชั้นที่ ๑ คุณครูเล็ก - ณัฐทิพย์ KO ช่วงชั้นที่ ๒ คุณครูมล – วิมลรัตน์ ศีลธรรมพิทักษ์ หัวหน้าส่วนบุคคล คุณครูทิ – ปิ่นปินัทธ์ ชัยชนะวงศ์ เจ้าหน้าที่จัดการข้อมูลอาวุโส ไปร่วมงานด้วย ปีนี้จึงได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างพร้อมเพรียง จากตัวแทนของทุกส่วนงาน ทั้งส่วนงานโรงเรียน งานบุคคล และงานจัดการข้อมูล
 
รูปแบบของการจัดงานมหกรรมจัดการความรู้ในปีนี้ ก็แปลกตาไป เพราะมีการตกแต่งสถานที่ให้ผู้เข้างานรู้สึกว่ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่อนคลายสบายๆ ใน Learning Land ที่ประกอบไปด้วย
 
     
     
 
หาดฝึกกระบวนท่า : เป็นพื้นที่ที่ใช้ฝึกทักษะการเรียนรู้จากพี่เลี้ยงผู้มากด้วยประสบการณ์ ทักษะที่สาคัญ ได้แก่ การเปิดใจรับฟัง การฝึกให้เข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนการฝึก ทบทวนการเรียนรู้ เป็นต้น
 
ทะเล Tacit : เป็นแหล่งฝึกฝนและค้นหาการถ่ายทอดและดักจับ Tacit Knowledge ผ่านการทดลองปฏิบัติจริงตามฐานการเรียนรู้ต่างๆ
 
ชนเผ่าจับเข่าคุย : เรียนรู้เทคนิคการจัดการความรู้อย่างยั่งยืน
 
เทือกเขาปันปัน : พื้นที่ที่จะทำให้เกิดความกระจ่างว่าทำไม “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ”
 
สะพานเชื่อมใจ : เรียนรู้เทคนิคดีๆ ของผู้ที่รับบทบาทเชื่อมประสาน เพื่อการขับเคลื่อน KM ให้สำเร็จ
 
ศาลาศิราณี : สถานที่นัดพบของกูรู (Guru) และ ผู้ที่ฝักใฝ่สนใจในเรื่อง KM ใครที่มีปัญหาเล็ก หรือปัญหาใหญ่ สามารถมาเปิดใจกันได้ในศาลานี้
 
เกาะสุขสันต์ : เป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นว่าบรรยากาศการทำงานที่มีชีวิตชีวานั้นเป็นอย่างไร สิ่งนี้มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาตามยถากรรม หากแต่เป็นสิ่งที่ต้องทาต้องสร้าง ต้องมีการวางกลยุทธ์ และมีการนำกระบวนการ KM ไปใช้อย่างมีลีลา
 
ประภาคารเกื้อกูล : การงานใดๆ ย่อมต้องมีการตั้งเป้าหมาย เปรียบได้กับการออกเรือที่ต้องรู้ทิศทาง การสาละวนอยู่กับงานประจำบ่อยครั้งอาจทำให้ท่านลืมมองเป้าหมาย ประภาคารจะทำหน้าที่ส่องแสงมาไกลๆ ให้รู้ว่าเป้าหมายปลายทางของเราอยู่ไหน ในโซนนี้ผู้ที่เป็น “คุณเอื้อ (Chief Knowledge Officer)” จะมาเผยเทคนิคการนำที่ทำให้คนทำงานใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่จนสามารถไปสู่เป้าหมายได้
 
บึงบูรณาการ : การเชื่อมโยงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารเข้าด้วยกันโดยไม่ทำให้เป็นภาระต่อผู้ปฏิบัติงาน ถือ เป็นสิ่งสาคัญ ที่บึงบูรณาการนี้ท่านจะได้พบกับตัวอย่างดีๆ จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้
 
โดยในทั้ง ๙ โซนจะมีกิจกรรมที่นำโดยภาคี (ทั้งจากภาครัฐและเอกชน) เป็นการนำประสบการณ์ดีๆ ที่น่าสนใจ มากมายมาให้ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการที่สนุกสนานชวนได้ตื่นตาตื่นใจในแต่ละช่วงตลอด ๒ วัน
 
โรงเรียนเพลินพัฒนาได้เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน ๒ ช่วงด้วยกัน คือ เกาะสุขสันต์ ที่เข้าไปร่วมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนพับฉบับเพลินพัฒนา และบึงบูรณาการ ที่ชวนกันไปบอกเล่าว่าเราบูรณาการงานจัดการความรู้เข้าไปในงานประจำอย่างไร
 
 
วันที่ ๒๒ พ.ย. ๕๓
เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๔.๔๕ น.
 
เกาะสุขสันต์ ยกเอากิจกรรมที่ทำกับครูช่วงชั้นอนุบาลไปทำจริงในงาน NKM ออกแบบกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อให้ครูได้พัฒนาทักษะการสื่อสาร และทักษะการถ่ายทอดความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมพับกระดาษที่สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอนได้ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกทักษะในการจัดการความรู้ไปพร้อมกันด้วย
 
     
     
   
๑๓.๓๐ - ๑๓.๔๐ น. เกริ่นนำ และสร้างความเข้าใจร่วมกันด้วย ppt.
   
๑๓.๔๐ - ๑๓.๕๐ น. เตรียมความพร้อม ด้วยกิจกรรม brain gyms
  หาคู่ ด้วยเพลง กูชิชิ – เป่ายิ้งฉุบแบบจีน
   
๑๓.๕๐ - ๑๔.๐๐ น. แยกกันไปเรียนรู้ตัวแบบงานพับกระดาษที่แตกต่างกันแล้วจำ
  กลับมาสอนเพื่อน
   
๑๔.๐๐ - ๑๔.๓๐ น. จับคู่ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการพับกระดาษ โดยใช้
  การอธิบายเท่านั้น และไม่มีการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ระหว่างที่
  แนะนำเพื่อนต้องเอามือไพล่หลังไว้
   
๑๔.๓๐ - ๑๔.๔๕ น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
   
 
เคล็ดลับความสำเร็จ
  • ผู้สอน ต้องพยายามจดจำขั้นตอน การพับ รูปร่างตามตัวอย่าง เพื่อสามารถที่จะถ่ายทอดให้
  • เพื่อนได้โดยอธิบายจากภาพใหญ่ไปภาพย่อย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
  • ผู้สอนต้องพยายามหาคำ ประโยค เพื่ออธิบาย ถึงขั้นตอนการพับกระดาษเป็นรูปร่างให้
  • เพื่อนสามารถปฏิบัติตามได้จนสำเร็จ โดยเชื่อมโยงจากความรู้เดิมที่มีมาก่อนหน้า
 
 
วันที่ ๒๓ พ.ย. ๕๓
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๑๕ น.
 
บึงบูรณาการ เล่าตัวอย่างการเชื่อมโยงเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารเข้าด้วยกันโดยไม่ทำให้เป็นภาระต่อผู้ปฏิบัติงาน ด้วยการทำ WS ให้ครูเข้าใจความสำคัญของการประเมินเพื่อพัฒนาเด็ก
 
     
     
 
ครูใหม่ – วิมลศรี ศุษิลวรณ์
  • เกริ่นนำเรื่องราวของโรงเรียนเพลินพัฒนา
  • นำเสนอ วีดิทัศน์การบริหารวิสัยทัศน์ “การใช้ Knowledge Sharing ขับเคลื่อน Knowledge Vision เรื่องการประเมินเพื่อพัฒนาเด็ก” ที่บันทึกจากการทำ WS ครูของช่วงชั้นที่ ๑
 
ครูเล็ก – ณัฐทิพย์ วิทยาภรณ
  • เล่าวัตถุประสงค์ และ แนวคิดเบื้องหลังการออกแบบ WS การประเมินเพื่อพัฒนาเด็ก
  • การเรียนรู้ร่วมกันของคณะทำงาน
  • การพัฒนา WS ครั้งต่อไปสำหรับครูช่วงชั้นที่ ๒ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ดียิ่งขึ้น
 
ครูแคท – คัทลียา รัตนวงศ์
  • เล่าเรื่องความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากร่วมอยู่ใน WS การประเมินเพื่อพัฒนาเด็ก
  • เล่าถึงการเติบโตของตัวเองเมื่อได้เข้ามาเป็นสมาชิกของเพลินพัฒนาที่เริ่มต้นจากนักศึกษาสาขาปรัชญาที่อาสาเข้ามาทำงานสร้างคนเมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ประเด็นเรียนรู้ที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือ การเห็นตัวเองว่าเกิดการเรียนรู้ทักษะความเป็นครูจากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้
 
ครูติ๊ก – เยาวราช สิทธิภู่ประเสริฐ
  • เล่าประสบการณ์การจัดการความรู้ของช่วงชั้นอนุบาล
  • กรณีศึกษา โครงงานชื่นใจได้เรียนรู้อนุบาล ที่มีการสร้างภาพห้องเรียนที่ควรจะเป็นให้ทุกคนได้เห็นร่วมกัน ด้วยการไปเก็บมุมงามๆ มาจากทุกห้องเรียน แล้วมาปะติดปะต่อด้วยโปรแกรม movie maker ให้ทุกคนได้เห็นภาพห้องเรียนที่งดงามด้วยความพอดี อย่างที่อยากให้เป็น
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้าร่วม
 
 
วันที่ ๒๒ พ.ย. ๕๓
เวลา ๑๕.๑๕ - ๑๖.๓๐ น.
 
ปีนี้ดิฉันได้รับเกียรติให้มาเป็นผู้ดำเนินรายการที่ศาลาศิราณีด้วย หัวเรื่องที่เป็นประเด็นหลักของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงนี้ คือ “ความเชื่อมโยงระหว่าง KM, Strategy และPolicy” ศิราณีที่มาตอบคำถามในช่วงนี้คือ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
 
     
     
 
คำถามที่มีผู้ถามมา คือ “ทำ KM แล้วได้อะไรคะ”
 
คุณหมอ ส. ตอบว่า ที่กรมอนามัย การจัดการความรู้นอกจากจะทำให้ได้นโยบายแล้ว KM ยังทำให้
 
  • คนทำงานเป็น
  • เรียนรู้เป็น (คนเก่งขึ้น)
  • มีเนื้อความรู้ที่มีการเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ
  • ได้ความรู้ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์
  • มีวัฒนธรรมในการทำงานว่า “ทุกคนต้องเรียนรู้”
  • KM ช่วยเสริมศักยภาพความเป็นมนุษย์
  • มีพัฒนาการทางจิตวิญญาณ
 
“จะทราบว่าคุณภาพของวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้นมานั้นเป็นเช่นไร”
 
  • ให้ดูว่าคนที่ออกจากวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วมีพลัง อยากทำงาน มีความรู้ไปใช้ในการทำงานหรือไม่
  • การจัดวงแลกเปลี่ยนความรู้จะต้องทำอย่างประณีต เพราะการจัดการกับความรู้แฝงฝังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
  • ความรู้แฝงฝัง (tacit knowledge) ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ดีจะไหลเวียนได้เร็ว เมื่ออยากรู้อะไรก็ถามกันได้ตรงนั้นเลย และมักเป็นความรู้ที่อยู่กับตัวบุคคล เป็นเคล็ดลับความสำเร็จที่หาไม่ได้จากการอ่านเอกสาร ตำรา หรือคู่มือ
  • คู่มือ มีไว้แปลงความคิดให้เป็นการปฏิบัติ เป็นสื่อให้เกิดการชวนกันคุยแล้วมาเรียนรู้ผลการปฏิบัติร่วมกัน
 
“อะไรคือ KPI ของการจัดการความรู้”
 
  • ก่อนที่จะมี KPI เรามี KRA ธรรมชาติของตัวชี้วัด คือการเป็นตัวแทน
  • หลายอย่างที่เราอยากจะวัดแต่วัดไม่ได้ จึงต้องกำหนดตัวชี้วัดตัวอื่นมาใช้แทน แต่ทำไปทำมาก็กลายเป็นว่าพอไม่มีตัวชี้วัดก็เลยไม่ทำ หรือทำเท่าที่ตัวชี้วัดมีอยู่เท่านั้น เป็นการทำงานเพื่อตอบตัวชี้วัดที่ตั้งขึ้นมาเป็นตัวแทน
  • Ideal indicator คือ เมื่อทำตัวนี้แล้วได้ตัวอื่น แต่โชคร้ายที่เราไม่มี
  • การทำ KPI จึงเป็นการทำลายความสามารถในการวัดของคนไปโดยปริยาย
  • หากอยากทราบว่าทำ KM แล้วประสบผลหรือไม่ ให้ดูว่าคนของเราทำงานยากได้ เพราะมีใจที่ไม่กลัวความยากลำบาก นั่นคือ ยากแค่ไหนก็เรียนรู้ได้
 
 
   
โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร






บทความนี้มาจาก ครบถ้วน ชัดเจน ฉับไว ทั่วถึง
http://www.plearnpattana.com/intra/

URL สำหรับเรื่องนี้คือ:
http://www.plearnpattana.com/intra//modules.php?name=News&file=article&sid=664