
Addmagazine ฉบับเดือนกรกฎาคม
วัน Wednesday 24 Sep 08@ 16:14:07 ICT หัวข้อ: เพลินพัฒนา
 |
|
add Magazine, July 2008 |
|
|
|
|
|
|
 |
โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) นั้นเชื่อว่า มนุษย์เรามีปรีชาชาญอันหลากหลายแตกต่างกันไป แต่ถึงกระนั้นมนุษย์ทุกคนก็สามารถพัฒนาพหุปัญญาให้ครบทุกด้าน หากได้รับการส่งเสริม ฝึกฝน และพัฒนาอย่างเหมาะสมในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และให้กำลังใจ |
|
|
|
|
กิจกรรมชมรม คือ โอกาสหนึ่งที่ปรีชาชาญเฉพาะตนของเด็กจะได้รับการพัฒนาและเบ่งบานอย่างเต็มที่ จากการได้ทำสิ่งที่ตนเองถนัดหรือมีความสนใจ ร่วมกับกลุ่มเพื่อนที่มีความถนัดและความสนใจใกล้เคียงกัน ยิ่งชมรมนั้นมีความหลากหลายของกิจกรรมมากเท่าใด ก็ยิ่งตอบสนองการเรียนรู้ที่หลากหลายของเด็กๆ ได้มากยิ่งขึ้น |
|
|
ในชมรมที่เสริมความรู้ด้านวิชาการ เช่น ชมรมวิทยาศาสตร์ ชมรมคณิตศาสตร์ เหมาะสำหรับเด็กที่มีความสนใจหรือมีความสามารถในทักษะวิชาการด้านนั้นๆ อย่างโดดเด่น การเรียนรู้ในห้องเรียนอาจไม่เพียงพอ เพราะเด็กกลุ่มนี้ต้องการการเรียนรู้ที่ยากและท้าทายกว่าเพื่อนวัยเดียวกัน ในชมรมเด็กๆ จะได้สนุกกับโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน หรือการทดลองแปลกใหม่ที่กระตุ้นให้เขาได้พัฒนาความคิด ท่ามกลางบรรยากาศการเรียนรู้ที่จะก่อสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นนักคณิตศาสตร์หรือนักวิทยาศาสตร์ต่อไป |
|
|
ในชมรมเสริมทักษะหรือความสนใจเฉพาะ เช่น ชมรมทำอาหาร นอกจากเด็กๆ จะได้ฝึกฝนการทำอาหารและเรียนรู้เรื่องโภชนาการแล้ว คุณครูที่ปรึกษาชมรมยังสามารถสอดแทรกบทเรียนคณิตศาสตร์เรื่องการชั่ง การตวง สัดส่วน และอัตราส่วน ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากการทำอาหาร หรือจัดโครงการนำอาหารที่ทำขึ้นไปจำหน่าย เด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้เรื่องการตลาด เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การคิดเรื่องต้นทุน กำไร ขาดทุน และการลดราคาให้กับผู้ที่ซื้อจำนวนมาก เป็นต้น |
 |
|
|
|
|
 |
ในชมรมกีฬา เหมาะสำหรับเด็กที่มีความสามารถโดดเด่นด้านกีฬา เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะกีฬานั้นๆ ให้ก้าวหน้าต่อไป ขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสที่เด็กๆ จะได้เล่นรวมทีม มีการจำลองการแข่งขัน ซึ่งจะได้เรียนรู้การฟันฝ่าอุปสรรค การเอาชนะความกดดันในการแข่งขัน และที่สำคัญคือการได้เรียนรู้เรื่องน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย |
|
|
|
|
หากมองในอีกมุมหนึ่งกิจกรรมชมรมนั้นแท้จริงแล้วก็คืองานอดิเรกที่เด็กๆเลือกทำตามความถนัดหรือความสนใจของแต่ละคนเพียงเราส่งเสริมและสนับสนุนให้งานอดิเรกนี้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องไม่ใช่เพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราวก็จะก่อเกิดเป็นความเชี่ยวชาญจนกลายเป็นทักษะหรือความสามารถที่โดดเด่นเฉพาะตัวของเด็กต่อไป |
|
|
โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร
|
|