Home
หน้าแรก
Downloads
ดาวน์โหลด
Forums
กระดานข่าวชาวเพลิน
Your Account
สำหรับสมาชิก
Your Account
วิถีชีวิต: โครงการส่งเสริมการให้
ฝ่ายชุมชน
ขอเชิญพี่ๆ น้องๆ แลผองเพื่อนมาเรียนรู้ปัญหาระดับรากหญ้า"คนกับป่าจะอยู่กันอย่างยั่งยืนได้อย่างไร"
ด้วยการเข้าไปในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดกาญจนบุรี กับ สุพรรณบุรี  
พบปะคนในพื้นที่ พูดไทยได้บ้างไม่ได้บ้าง (ส่วนใหญ่เป็นชาวปากากะญอ)
เดินป่าหน้าแล้ง และ ตกดึกตั้งวงสนทนาแบบ Deep Listening ใต้เงาจันทร์ครึ่งดวง

งานนี้ส่วนชุมชนจะไปช่วยพัฒนาระบบสื่อสารผ่าน Internet เนื่องจากไม่มีสายโทรศัพท์ จึงต้องติดตั้งไมโครโฟนและ install program เช่น msn และ skype เป็นต้น นอกจากนี้ทางเด็กๆ อยากเรียนรู้การนำวัสดุธรรมชาติมาทำเป็นงานประดิษฐ์เพื่อจำหน่ายเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาหาซื้อผ้าทอจากแม่บ้านด้วยค่ะ
หากใครอยากสร้างกิจกรรมกับเด็กๆ ก็จะยินดีอย่างยิ่งค่ะ

ออกเดินทางวันจันทร์ที่ ๙ เมษายน กลับวันพุธที่ ๑๑ เมษายน
โดยรถตู้  หากใครนำรถส่วนตัวไปมีค่าน้ำมันให้ค่ะ (กรุณาติดต่อครูส้ม / ครูแพท ส่วนงานชุมชน)



และรับอาสาสมัครช่วยคิดกิจกรรมส่งเสริมการให้กับโรงเรียนในชุมชนด่วนค่ะ ติดต่อ ครูส้มและครูแพท ส่วนงานชุมชนฯ ค่ะ


ทางเข้าหมู่บ้าน

ลานพูดคุยกันตอนกลางคืน

บริเวณที่พักค้างแรม

ดูการทำสวนแบบรั้วกินได้

ที่พักสำหรับสาวๆ


ที่พักเรือนเล็ก


เรือนใหญ่ มีฝาสามด้าน กรุณาเอาเต้นท์ หรือมุ้งไปด้วย

สภาพอากาศไม่แน่นอน กลางวันร้อน กลางคืนหนาว

เตรียมเสื้อผ้าไปหลายๆ แบบนะคะ

ที่พัก และห้องน้ำ

อาบน้ำตุ่ม

มองจากบริเวณที่พัก แล้งแบบนี้ แต่มีป่าให้เดิน ! เมื่อไม่กี่วันมานี้ มีเสือมากินวัวชาวบ้าน....!

มะเขือในบริเวณที่พัก

มะละกออินทรีย์ ไม่มี GMO

แม่ลูกอ่อน เพิ่งคลอดน้องได้ไม่กี่ชั่วโมงนี้เอง

สมาชิกใหม่ของโลกใบเก่า

ด้านขวาของภาพ คือ ลำห้วยแห้งขอดยามหน้าแล้ง


แต่มรสุมก็เริ่มมาแล้ว


คนจะอยู่กับป่าอย่างยั่งยืนได้หรือไม่ หรือป่ามีไว้ให้สัตว์ป่าอยู่เท่านั้น

การสร้างชุมชน การสร้างอาชีพเสริม การสืบสานวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ

อะไรคือทางออกที่ดีที่สุด

ไปฟังแนวทางการจัดการของหลายๆ หน่วยงาน ทั้งอุทยานฯ โครงการราชดำริ ชาวบ้าน และ อื่นๆ


โดยมากในสภาวะของการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม หากเรามัวมุ่งแต่จะใช้กระบวนการเก่าที่หนีไม่พ้นความคุ้นชินเดิม ย่อมนำเราไปสู่วิธีการแก้ปัญหาในแบบเดิม ๆ ซึ่งโดยปกติเรามักเชื่อว่า การได้มาซึ่งความรู้ใหม่นั้นต้องอภิปรายถกเถียง โต้แย้ง หรือเอาชนะคะคานกัน

แต่ในกระบวนการนี้ เราเชื่อว่า “การฟังอย่างลึกซึ้ง” จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมที่ดีกว่า เพราะมิใช่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเรียนรู้ภายใต้ความเชื่อที่หนักแน่นว่า “ความรู้ไม่ได้มาจากฟ้า แต่ความรู้มาจากดิน”

มาร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการป่าชุมชน ที่ใช้กระบวนการพูดคุยด้วยวิธีการแบบนี้ โดยจัดให้ทุกคนได้อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม (สัปปายะ)

กระบวนการ DD : Deep listening Dialogue  

เป็นกระบวนการที่ทำให้พลังความคิดทั้งหมดของทุกคน ถูกซึมซับจากการไหลเวียนของการฟังอย่างลึกซึ้ง และการพูดอย่างเปิดใจด้วยกัน นำพาเราออกจากกับดักความคิดเดิมของเรา

 
ติดประกาศ Wednesday 21 Mar 07@ 18:05:45 ICT โดย admin

 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายชุมชน
· เสนอข่าวโดย admin


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด ฝ่ายชุมชน:
ตามวงจุฬาวาทิตไปฝรั่งเศส



คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 0
จำนวนผู้ลงคะแนน: 0

โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่



ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์



"โครงการส่งเสริมการให้" | สมัครสมาชิกที่นี่ | 0 ข้อคิดเห็นต่างๆ
ความคิดเห็นที่แสดงนี้เป็นของเป็นของผู้ลงประกาศ. ทางเว็บไซต์ ไม่ขอรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านี้.

ผู้ไม่ลงทะเบียน ไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น , โปรด ลงทะเบียน
พื้นที่เพื่อการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดูแลโดย คณะทำงานการสื่อสาร และ เลขาฯ ช่วงชั้น

PHP-Nuke and ThaiNuke Bundle Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.06 วินาที