
 |
|
เทศกาลมโนรม ๔ ภาค |
|
ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับเทศกาลมโนรม ๔ ภาคของช่วงชั้นมัธยม (ชั้น ๗ - ชั้น๙) เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ เก็บภาพความประทับใจมาฝากกันค่ะ |
|
|
 |
|
ดร. บงกช เศวตามร์ (ครูต้น) ครูใหญ่ช่วงชั้นมัธยมบอกเล่าถึงการจัดงานเทศกาลมโนรมว่า “ในระดับมัธยมศึกษาเราใช้หน่วยวิชาแสนภาษา อันมีวิชานาฏศิลป์และดนตรีชีวิตเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนนักเรียน วัยรุ่น ให้เกิด ๓ ทักษะหลักคือทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน และทักษะความรู้ เพื่อให้สามารถกำกับตนเอง มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำ รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ขณะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รวมถึงส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับผู้เรียน ขณะที่การจัดแสดงจริงบนเวที มีผู้ชมจริง และได้แต่งองค์ทรงเครื่อง จริง ๆ มิใช่มีเป้าหมายให้เกิดความอลังการเพียงเท่านั้นเพราะการขึ้นเวทีทำให้เกิดประสบการณ์ตรง บางอย่างที่ไม่สามารถจัดได้ในห้องเรียน” |
|
|
|
|
|
|
 |
|
“ความรู้ทั้งหลายทั้งปวงของข้ามอบให้ครูอาจารย์ วิญญาณของข้ามอบให้พระเจ้า ผลงานของข้าพเจ้าทั้งหลายมอบไว้ให้แผ่นดิน เราควรจะทำ เราควรจะสืบทอด เราควรจะรักษาศิลปวัฒนธรรมของเราให้อยู่รอดไปด้วยตัวของเราเอง”
คุณครู ในตะวัน กำหอม (ครูใบพลู) |
|
|
|
|
|
|
 |
|
“เพียงหนึ่งเดือน จากที่ศิษย์ทุกคนไม่มีประสบการณ์ไม่เคยผ่านกระบวนการเรียน ในหลักสูตรของรายวิชานาฏศิลป์ไทย ในลักษณะที่มีท่ารำประกอบมาก่อน แล้วทุกคนต่างช่วยกันเรียนรู้ ฝึกฝนความสามารถอย่างที่เรียกว่าการหาพรแสวงร่วมกับพรสวรรค์และแรงใจที่ไม่ย่อท้อ จนทุกคนสามารถร่วมกันรังสรรค์การแสดงชุดมโนรม ๔ ภาคให้เกิดขึ้นได้ ทำให้ครูมีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ถ่ายทอความรู้ความสามารถทีมีอยู่ในตัวครูให้กับศิษย์”
คุณครูยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต (ครูหงส์) |
|
|
|
|
|
|
เสวนาวิชาการ การแสดงพื้นบ้าน พื้นฐิ่น
|
|
|
การแสดงชุดที่ ๑ โนราภาคใต้ / สาธิตมโนราห์ตัวอ่อน
|
โนรา หรือ มโนราห์ เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยการรำ การร้อง และการแสดงที่เป็นเรื่องราว ในอดีตโนราเป็นการแสดงเพื่อประกอบพิธีกรรมและใช้ผู้ชายแสดงล้วน
|
|
 |
|
การแสดงชุดที่ ๒ ตารี โตเป็ง (Tari topeng)
เป็นการแสดงที่แทบจะมีอยู่ในทุกพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย บันดุงและบาหลี มีการใช้หน้ากากประกอบแสดงออกถึงความเป็นยักษ์ จังหวะดนตรีมีความน่าตื่นเต้น |
|
|
|
|
|
|
การแสดงชุดที่ ๓ เปิดวงอีสาน
|
|
|
การแสดงชุดที่ ๔ มโนราห์เล่นน้ำ
นำเนื้อเรื่องมาจากวรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสานเรื่องพระสุธน-มโนรา โดยจับตอนที่นางกินรีทั้งเจ็ดมีนางมโนราห์มาเล่นน้ำเมื่อพรานป่ามาพบเข้าจึงไล่จับไปถวายแก่พระสีทน |
|
การแสดงชุดที่ ๕ มโนราห์บูชายัญ นำมาจากละครเรื่อง พระสุธน-มโนราห์ ตอน มโนราห์ บูชายัญ
ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดแสดงให้ชาวไทยชมครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ |
|
การแสดงชุดที่ ๖ กิ่งกะหร่า
เป็นคำเดียว กับคำว่า กินนร หมายถึง อมนุษย์ในนิยาย ซึ่งมี ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเหมือนคน เมื่อจะไปไหนมาไหนก็จะใส่ปีกใส่หางบินไป ซึ่งการฟ้อนกิ่งกะหร่าเป็นการเลียนแบบอมนุษย์ชนิดหลังนี้ |
|
 |
|
มีความเป็นมืออาชีพ เด็กทุกคนพร้อม ทีมงานพร้อม เด็กได้แสดงศักยภาพ ได้แสดงจริง การจัดงานทำได้ดีมาก รู้สึกชอบเพราะไม่เคยเห็นโรงเรียนจัดแบบนี้มาก่อน ชื่นชมที่สามารถดึงศักยภาพเด็กออกมาและให้ทำงานร่วมกับคนที่มีความสามารถ |
|
คุณแม่น้องฟองชั้น ๗/๑และน้องฝ้ายชั้น ๘
|
|
|
ชื่นชมคุณครูฝึกความพร้อมเด็กได้เก่ง สามารถไปโชว์ภายนอกได้เลย เวทีอาจกว้างไป และควรปรับการจัดวางเครื่องดนตรีมาไว้ด้านข้าง จากกิจกรรมครั้งนี้รู้สึกว่าน้องมีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้น |
|
|
เห็นเด็ก ๆ ตั้งใจเตรียมตัวกันหลายวัน วันนี้เป็นวันที่มีโอกาสแสดงซึ่งพวกเขาซุ่มฝึกซ้อมด้วยความอดทน เด็ก ๆคงจะภูมิใจในสิ่งที่เขาทำ ผู้ปกครองก็ประทับใจในสิ่งที่เด็กๆ แสดงออก ชื่นชมคุณครูที่อยู่เบื้องหลังมีส่วนช่วยอย่างมากค่ะ |
|
|
|
อลังการมาก พอเห็นฉากที่ลูกออกตื่นเต้นมาก คุณครูออกมาร่วมแสดง ประกายแววตาเด็กสวยงาม เด็กเพลินพัฒนามีสิ่งดี ๆ เยอะ ครั้งนี้ช่วยเปิดเวทีให้เด็กแสดงความสามารถที่ได้สะสมไว้ |
|
คุณแม่น้องโนบุและน้องมิจึ ชั้น ๘
|
|
|
รู้สึกสนุกและตื่นเต้นนิดหน่อย ตั้งใจฝึกและช่วยกันในกลุ่ม เพื่อนมีการช่วยเหลือกันมากขึ้น |
|
ด.ญ. กัญจน์ธิดา ฉัตรไมตรี (มีมี่) ชั้น ๗
|
|
|
รู้สึกตื่นเต้นมากตอนแสดงต้องหน้ายิ้มตลอด ได้เรื่องของกำลังขาเพราะมีท่าที่ต้องย่อซึ่งยากมาก การแสดงครั้งนี้ช่วยให้กล้าแสดงออกมากขึ้นและรู้จักการทำงานเป็นทีม |
นายปุณณรัฐ นาคอาทิตย์ (ปุณ) ชั้น ๙
|
|
|
มีความสุขและดีใจประทับใจเพื่อน ๆ ที่มีความพร้อมเพรียงกันมาก มีการทำงานเป็นทีมร่วมกันทั้ง ชั้น ๗ ชั้น๘ และ ชั้น๙ ได้เห็นความสามัคคีระหว่างพี่น้อง |
ด.ญ. กาญจนาพร ขำพ่วง (แพรว) ชั้น ๘
|
|
|
โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร
|
ติดประกาศ Monday 07 Mar 11@ 14:09:07 ICT โดย rawipan_p
|
|
| |
คะแนนของบทความ |
คะแนนเฉลี่ย: 0 จำนวนผู้ลงคะแนน: 0
|
|
|