 |
Happy Learning, Happy Teaching ! |
 |

 |
|
Happy Learning, Happy Teaching !
การจัดการเรียนรู้แบบ Open Approach ประกอบไปด้วย
|
|
* การสร้างสถานการณ์ปัญหา หรือการเปิดสถานการณ์ที่พาให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปด้วยกัน
* การเปิดวิธีมองการเรียนรู้ของครู ครูต้องเปิดสายตาให้ เห็นว่าการเรียนรู้เป็นของผู้เรียนแต่ละคน ผู้เรียนไม่ใช่ผู้รับความรู้จากครู แต่สามารถสร้างความรู้ขึ้นมาจากความเข้าใจของตนเองได้
* การเปิดผู้เรียน ผู้เรียนได้แสดงความคิด และนำเสนอความเข้าใจของตนออกมา เกิดความมั่นใจในการเรียนรู้ เกิดความสุขในการเรียนรู้ และความสามารถในการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
* การเปิดชั้นเรียน เมื่อมีการเปิดสถานการณ์ปัญหา เปิดวิธีมองการเรียนรู้ของครู เปิดผู้เรียนสู่การเรียนรู้ ชั้นเรียนก็จะมีบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ย่อยๆ ขึ้นในห้องเรียนแต่ละห้อง เกิดรูปแบบของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญขึ้นอย่างชัดเจน
ชั้นเรียนแบบนี้เป็นชั้นเรียนที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก อ.ไมตรีกล่าวว่า “เพียงแค่ครูเปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนเครื่องมือที่ใช้ ก็เปลี่ยนชั้นเรียนได้...ครูไทยมักจะเน้นที่นิยาม ไม่ได้เน้น teaching approach อย่างมากก็ยกตัวอย่างประกอบ”
|
|
|
แต่การเรียนการสอนแบบ Open Approach ที่ตั้งต้นจากสถานการณ์ปัญหาที่ครูยกมาให้เป็นปัญหาร่วมของนักเรียนทุกคน จะทำให้ครูได้รู้ว่านักเรียนแต่ละคนคิดอย่างไร ผู้เรียนก็จะเกิดความกล้าคิดกล้าทำเพราะเขาอยากจะบอกออกมาว่าตัวเองคิดอะไร ทำให้แต่ละวันมีเรื่องที่น่าเรียนรู้รอเขาอยู่เสมอ |
|
 |
|
|
|
|
|
|
เคล็ดลับความสำเร็จนั้นอยู่ที่ การนำเอาวิธีคิดที่เป็นธรรมชาติของเด็กมาเป็นตัวตั้งในการวางแผนการเรียนรู้ แล้วเปิดให้วิธีคิดเหล่านั้นดำเนินไปในสถานการณ์การเรียนรู้แบบเปิด
ชั้นเรียนในลักษณะนี้จึงเป็นชั้นเรียนที่ก่อการเรียนรู้ให้กับทั้งผู้ เรียนและผู้สอนไปในขณะเดียวกัน และถ้าได้ทำ “การศึกษาชั้นเรียน” (Lesson Study) ควบคู่กันไปด้วย ชั้นเรียนนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการพัฒนาครูควบคู่กันไปในตัว ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับชั้นเรียนนี้ จึงล้วนมีความสัมพันธ์กันในมุมใดมุมหนึ่ง และต่างก็ได้เรียนรู้จากการนำปัญหามาเป็นตัวตั้งทั้งสิ้น
|
|
|
โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร
|
ติดประกาศ Wednesday 30 Jun 10@ 09:59:25 ICT โดย rawipan_p
|
|
| |
คะแนนของบทความ |
คะแนนเฉลี่ย: 0 จำนวนผู้ลงคะแนน: 0
|
|
|