Home
หน้าแรก
Downloads
ดาวน์โหลด
Forums
กระดานข่าวชาวเพลิน
Your Account
สำหรับสมาชิก
Your Account
Lesson Study นวัตกรรมการพัฒนาครูให้เรียนรู้ไปบนหน้างานจริง (๑)
วิชาการ & KO
 

Lesson Study

นวัตกรรมการพัฒนาครูให้เรียนรู้ไปบนหน้างานจริง (๑)



     
     เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๓ ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะ ได้กรุณาเดินทางมาหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะครูโรงเรียนเพลินพัฒนา ในเรื่อง “การศึกษาชั้นเรียน” (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูของญี่ปุ่นที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๗๐ จนกระทั่งกลายมาเป็นระบบการพัฒนาวิชาชีพครู และวัฒนธรรมการเรียนการสอน และวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกันของประเทศญี่ปุ่นในปัจจุบัน  
     
     

    “การศึกษาชั้นเรียน” จึงเป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ในหน้างานครู และเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนไปในขณะเดียวกัน การทำงานในลักษณะนี้จึงเป็นวงจรการทำงานต่อเนื่อง เหมือนที่อาจารย์ไมตรีใช้อุปมาว่า “แต่งแล้วหย่าไม่ได้” นั่นเอง

     การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) คือ ระบบการพัฒนาวิชาชีพครูแบบหนึ่งของญี่ปุ่นที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา ซึ่งครูญี่ปุ่นจะต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นวิชาชีพครู ลักษณะที่สำคัญของระบบดังกล่าวคือ กลุ่มครูญี่ปุ่นจะพบกันเป็นระยะๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาแผนการสอน สร้างสรรค์นวัตกรรมการสอน การทดลองใช้แผนการสอนดังกล่าวในห้องเรียนจริง และการปรับปรุงแผนร่วมกัน

นวคิดพื้นฐาน : วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนในห้อง เรียน ก็คือการพัฒนาและปรับปรุงบทเรียนในบริบทของห้องเรียนจริง สิ่งที่ท้าทายคือ

* การกำหนดการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ ของผู้เรียนในชั้นเรียน
* การแลกเปลี่ยนความรู้และปัญหาในห้องเรียนร่วมกันกับครูคนอื่น และการให้กลุ่มครูรับรู้เป้าหมายของการสอนร่วมกัน

 
 
 

ขั้นตอนการพัฒนาวิชาชีพครูด้วย “การศึกษาชั้นเรียน”

 

     ขั้น ๑ ขั้นการกำหนดปัญหา (Defining the Problem) “การ ศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study) เป็นระบบที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหา และการทำให้การกำหนดปัญหานำไปสู่แรงจูงใจและการกำหนดกรอบในการทำงานของกลุ่ม ครู

     
     
     ปัญหาอาจเริ่มในลักษณะกว้างหรือทั่วไป เช่นจะทำให้นักเรียนสนใจคณิตศาสตร์ได้อย่างไร หรือเป็นประเด็นเฉพาะเจาะจงเช่น จะพัฒนาความเข้าใจของนักเรียนในการบวกเศษส่วนที่ส่วนไม่เท่ากันอย่างไร ปกติปัญหาที่ครูเลือกมักจะเป็นปัญหาที่มาจากประสบการณ์การสอนในห้องเรียนที่ ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน หรืออาจเป็นปัญหานโยบายระดับชาติ
 
 
     ขั้น ๒ ขั้นการวางแผนบทเรียน (Planning the lesson) เมื่อ เป้าหมายการเรียนรู้ถูกำหนดหรือเลือกโดยกลุ่มครู กลุ่มครูจะเริ่มประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางแผนบทเรียน เป้าหมายของการวางแผนบทเรียนไม่เพียงแต่เพื่อให้ได้บทเรียนที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความเข้าใจได้จริง  
     
     
     แผนการเรียนรู้ที่กลุ่มครูสร้างขึ้นจะต้องนำไปเสนอต่อที่ประชุมครูในระดับ โรงเรียน เพื่อรับฟังการสะท้อน และนำข้อมูลที่ได้รับกลับมาปรับพัฒนา ขั้นการวางแผนนี้อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายเดือนก่อนที่จะนำไปสู่การใช้ จริงในห้องเรียน
 

 

โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร

ติดประกาศ Wednesday 16 Jun 10@ 09:50:08 ICT โดย rawipan_p

 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม วิชาการ & KO
· เสนอข่าวโดย rawipan_p


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด วิชาการ & KO:
Lesson Study นวัตกรรมการพัฒนาครูให้เรียนรู้ไปบนหน้างานจริง (๑)



คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 0
จำนวนผู้ลงคะแนน: 0

โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่



ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์



"Lesson Study นวัตกรรมการพัฒนาครูให้เรียนรู้ไปบนหน้างานจริง (๑)" | สมัครสมาชิกที่นี่ | 0 ข้อคิดเห็นต่างๆ
ความคิดเห็นที่แสดงนี้เป็นของเป็นของผู้ลงประกาศ. ทางเว็บไซต์ ไม่ขอรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านี้.

ผู้ไม่ลงทะเบียน ไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น , โปรด ลงทะเบียน
พื้นที่เพื่อการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดูแลโดย คณะทำงานการสื่อสาร และ เลขาฯ ช่วงชั้น

PHP-Nuke and ThaiNuke Bundle Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.06 วินาที