Home
หน้าแรก
Downloads
ดาวน์โหลด
Forums
กระดานข่าวชาวเพลิน
Your Account
สำหรับสมาชิก
Your Account
สนุกกับเสียง เพลินสำเนียงคำ
ช่วงชั้นที่ ๑
  สนุกกับเสียง
เพลินสำเนียงคำ


“ถ้าคิดแบบเด็กชั้นประถม ๒ ที่ไม่เอา text เป็นตัวตั้ง การรู้จักกับไตรยางศ์จะไม่ตั้งต้นจากตัวรูปพยัญชนะที่เห็น แต่จะตั้งต้นจากเสียงที่ได้ยินกับหู”

     จะทำอย่างไรให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนรู้อักษรสามหมู่ ถ้าคิดกันโดยอาศัยนิยาม ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ของพยัญชนะแต่ละหมวด

     คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรยฺ (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่า สามส่วน (อ้างจากวิกิพีเดีย)

     ถ้าคิดแบบผู้ใหญ่ อักษรสามหมู่หรือที่เรียกว่าไตรยางศ์ ก็คือการจำแนกตัวพยัญชนะออกเป็นสามกลุ่มตามระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ แต่ถ้าคิดแบบเด็กชั้นประถม ๒ ที่ไม่เอา text เป็นตัวตั้ง การรู้จักกับไตรยางศ์จะไม่ตั้งต้นจากตัวรูปพยัญชนะที่เห็น แต่จะตั้งต้นจากเสียงที่ได้ยินกับหู

     คุณครูหนึ่ง - ศรัณธร แก้วคูณ จึงได้คิดวิธีจัดกระบวนการเรียนรู้ให้อักษรสามหมู่กลายเป็นเรื่องหมูๆ สำหรับเด็กประถม ๒ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 
 
     
     

สร้างภาวะพร้อมเรียนรู้สู่ความเข้าใจเรื่องเสียงพยัญชนะ

๑.ท่อง ก - ฮ ประกอบจังหวะและการเคลื่อนไหว เมื่อครูเดินตีกลองเป็นจังหวะไปที่ใคร ให้คนนั้นลุกขึ้นเดินตามครูพร้อมท่อง ก-ฮ ทำเช่นนี้ไปจนครบทุกคน

๒.ครูพานักเรียนเดินท่อง ก -ฮ มานั่งรวมกันเป็นวงกลมเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่บทเรียน

เริ่มต้นบทเรียนด้วยเกม “ภาพคำนำสู่เสียงอักษร”

๑.ครูนำภาพสัตว์ให้เด็กดูรอบวงแบบเร็วๆ ๓ ภาพ
๒.ให้ผู้เรียนยกมือทาย ๓ คน ว่าภาพที่ ๑ - ๓ คือภาพอะไร เมื่อเด็กทายถูกให้นำรูปไปติดที่กระดานตามแนวนอน แล้วเขียนชื่อสัตว์ใต้ภาพนั้น
๓.ให้ผู้เรียนบอกพยัญชนะต้นของแต่ละคำ ออกเสียง สังเกตระดับเสียงที่ได้ยิน แล้วออกเสียงดังๆ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบ เช่น
• ภาพเสือ ทำตัวสูงพร้อมยกมือสูง ออกเสียงซ้ำกัน ๓ ครั้งว่า สอ สอ สอ
• ภาพกา ส่ายเอวพร้อมกับไกวมือที่ระดับเอว ออกเสียง กอ กอ กอ
•ภาพช้างนั่งยองๆมือส่ายระดับพื้นออกเสียงชอชอชอ

 
 
       
       
๔.ครูชูภาพให้ดู ผู้เรียนทั้งห้องเคลื่อนไหวร่างกายตามระดับเสียง พร้อมทั้งออกเสียง (ไม่เรียงสูง กลาง ต่ำ) ตามภาพที่เห็นไปเรื่อยๆ
๕.ครูนำรูปบันได ๓ ขั้นเสียงมาวางตรงกลางห้อง ให้ผู้เรียนช่วยกันนำพยัญชนะต้นมาใส่เสียงตามระดับเสียง
๖.สนุกกับเกมทบทวนความรู้ “ชื่อสัตว์พารู้จักเสียงอักษร ๓ หมู่”
- ครูบอกกติกา
- แจกภาพกลุ่มละ ๓ ภาพ
- แจกกระดาษ “บันไดเสียง”
- ค้นหาพยัญชนะต้นของชื่อสัตว์ที่ได้มา
- นำพยัญชนะต้นไปวางที่บันไดเสียง
- แต่ละกลุ่มอ่านให้เพื่อนกลุ่มอื่นฟัง พร้อมกับแสดงการเคลื่อนไหวท่าทางตามระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับเสียงคำไปด้วยกัน
 
 
     
     
๗.ผู้เรียนกลับไปนั่งที่โต๊ะ ครูนำตะกร้า ๓ ใบไปติดไว้ที่กระดานหน้าห้อง โดยจัดให้ตะกร้า ๓ ใบวางอยู่ในลักษณะเหลื่อมกันให้เห็นเป็นระดับ สูง กลาง ต่ำ ทางด้านขวาของกระดานมีตัวพยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัวติดอยู่
๘.ทำกิจกรรม “จัดฉันใส่ตะกร้า”
- ผู้เรียนออกเสียงพยัญชนะไทย ๔๔ ตัวให้ชัดเจน
- แบ่งผู้เรียนเป็น ๒ กลุ่ม
- แจกพยัญชนะทั้ง ๔๔ ตัวให้กลุ่มละชุด
- สมาชิกในกลุ่มช่วยกันนำพยัญชนะไปใส่ตะกร้า ๓ ใบ ให้ตรงกับระดับเสียง
- ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องด้วยการลองออกเสียงทบทวนอีกครั้ง
๙.ครูตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการสรุปความรู้ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วร่วมกัน
๑๐.ครูนำเข้าสู่ความรู้เรื่องหลักภาษาที่ควรทราบ “การแบ่งพยัญชนะตามระดับเสียงสูง กลาง ต่ำ เรียกว่า “ไตรยางศ์” กลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงสูงเรียกว่าว่า “อักษรสูง” กลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงต่ำเรียกว่า “อักษรต่ำ” กลุ่มพยัญชนะที่มีเสียงกลางเรียกว่า “อักษรกลาง”
๑๑.ทำแบบฝึกหัด
 
 
  ๑๒.ท่องกลอนดอกสร้อยพร้อมกัน

ไตรเอ๋ยไตรยางศ์     อักษรกลางมีเก้าตัว
อักษรสูงนับถ้วนทั่ว  สิบเอ็ดตัวครบพอดี
เด็กเด็กจ๋าจงจดจำ   อักษรต่ำยี่สิบสี่
รวมสามหมู่ให้เข้าที่  สี่สิบสี่พยัญชนะเอย
     
     
๑๓.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เทคนิคการจดจำอักษร ๓ หมู่ (ไตรยางศ์)”
- ออกเสียงและสังเกตระดับเสียงว่าเป็นเสียงอะไร ไม่ต้องจำเยอะ
- นำพยัญชนะต้นของคำมาแต่งให้เป็นประโยคเพื่อช่วยให้จำได้ง่าย
- จำตัวอักษรเฉพาะเสียงสูงและเสียงกลาง ส่วนเสียงต่ำไม่ต้องจำ เพราะมันเยอะ ถ้ารู้เสียงสูงและเสียงกลาง แล้วจะรู้เองว่าอักษรต่ำเป็นตัวอะไร
- จดจำจากบทดอกสร้อยที่ครูให้ท่องก็จะรู้ได้ว่าอักษรแต่ละหมู่มีกี่ตัว

ชิ้นงาน
๑.งานเดี่ยว ทำผังมโนทัศน์คำอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ จากบทเพลง
๒.งานกลุ่ม นำกลุ่มอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ มาแต่งให้เป็นเรื่องราวตามใจชอบเพื่อช่วยจำ

 

ที่มา : http://gotoknow.org/blog/krumaimai/281539
เว็บบล็อกของคุณครูใหม่-วิมลศรี ศุษิลวรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการจัดการความรู้ โรงเรียนเพลินพัฒนา

 
 

 

โดย : ส่วนสื่อสารองค์กร 

ติดประกาศ Thursday 20 Aug 09@ 16:44:36 ICT โดย rawipan_p

 
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
· ข้อมูลเพิ่มเติม ช่วงชั้นที่ ๑
· เสนอข่าวโดย rawipan_p


เรื่องที่นิยมอ่านมากสุด ช่วงชั้นที่ ๑:
สนุกกับเสียง เพลินสำเนียงคำ



คะแนนของบทความ
คะแนนเฉลี่ย: 0
จำนวนผู้ลงคะแนน: 0

โปรดสละเวลาให้คะแนนสำหรับบทความนี้:

สุดยอด
ดีมาก
ดี
ธรรมดา
แย่



ส่วนเพิ่ม

 หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์ หน้าเอกสารสำหรับเครื่องพิมพ์



"สนุกกับเสียง เพลินสำเนียงคำ" | สมัครสมาชิกที่นี่ | 0 ข้อคิดเห็นต่างๆ
ความคิดเห็นที่แสดงนี้เป็นของเป็นของผู้ลงประกาศ. ทางเว็บไซต์ ไม่ขอรับผิดชอบในเนื้อหาเหล่านี้.

ผู้ไม่ลงทะเบียน ไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น , โปรด ลงทะเบียน
พื้นที่เพื่อการประสานงาน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดูแลโดย คณะทำงานการสื่อสาร และ เลขาฯ ช่วงชั้น

PHP-Nuke and ThaiNuke Bundle Copyright © 2005 by Francisco Burzi. This is free software, and you may redistribute it under the GPL. PHP-Nuke comes with absolutely no warranty, for details, see the license.
การสร้างหน้าเอกสาร: 0.09 วินาที